Loading...

Insider

New Experience

"ขนมจีน"เมนูสุขภาพที่ใครก็รู้จัก
นิยมทั้งในเหนือจรดใต้!

หนึ่งในวัฒนธรรมอาหารของไทยซึ่งแพร่หลายและน่าสนใจที่สุดนั้นคืออะไร นอกจากตอบว่า “น้ำพริก” อันเป็นเครื่องจิ้มประจำชาติแล้วก็คงต้องตอบว่า ขนมจีน ด้วยความที่คนไทยนิยมกินขนมจีนกันแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ อีกทั้งคนไทยแต่ละภาคเองต่างก็นำอาหารเส้นชนิดนี้ไปปรับให้เข้ากับวิถีวัฒนธรรมของแต่ละถิ่นได้อย่างมหัศจรรย์
.
ในสมัยโบราณขนมจีนเป็นอาหารหลัก เวลามีงานการที่ต้องเลี้ยงคนมาก ๆ ก็ต้องทำขนมจีน ดูเป็นของสะดวกสบายกว่าอย่างอื่น เอาขนมจีนใส่จานแล้วก็ตักน้ำยาราดลงไป ใช้ช้อนตักกินได้เลยทีเดียวไม่ยุ่งยาก ในชั้นเดิมทีเดียวเข้าใจว่าจะมีแต่น้ำยา จึงปรากฏชื่อคลองน้ำยาไว้เป็นประวัติศาสตร์ ไม่มีกล่าวถึงน้ำพริก
.
แม้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็มีเพียงน้ำยา ยังไม่มีน้ำพริกเหมือนอย่างทุกวันนี้ ที่กล่าวมาไม่ใช่ว่าจะเกิดทัน แต่ว่าสังเกตจากจดหมายเหตุโบราณ เมื่อพูดถึงขนมจีนก็จะมีน้ำยาเข้าคู่กันไป อย่างอื่นไม่มี
.
ขนมจีนน้ำยาเป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร (เพราะมีผักเครื่องเคียงประกอบค่อนข้างมาก) แต่มีไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากมีกะทิเป็นส่วนประกอบหลัก จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคความดัน โรคหัวใจ และผู้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยง
.
ขอแนะนำให้กินน้ำยาป่าแทนจะดีกว่าเพราะไม่มี ส่วนของกะทิให้กังวลใจ การกินขนมจีนไม่ว่าจะขนมจีนน้ำยาหรือสูตรอื่นก็ตามจะให้ได้ประโยชน์ อย่างเต็มที่ ต้องกินผักเครื่องเคียงมากๆ หรือถ้าอยากจะเพิ่มลูกชิ้นปลาด้วยก็ได้ไม่ว่ากัน
.......................................................................................
One of the most widespread and fascinating aspects of Thai culinary culture is, aside from the nationally acclaimed chili paste (nam prik), undoubtedly kanom jeen (fermented rice noodles). The popularity of kanom jeen spans across every region of Thailand, with each region uniquely adapting this noodle dish to fit its local cultural practices marvelously.

In ancient times, kanom jeen was a staple food. During large gatherings or events, it was customary to serve kanom jeen because of its convenience. The noodles would be placed on a plate and topped with curry sauce (nam ya). This made it easy to eat with just a spoon, without any fuss. Initially, it is believed that only nam ya existed, which is why we find historical references to places named "Khlong Nam Ya" (Nam Ya Canal), but not to "nam prik."

Even in the early Rattanakosin period, only nam ya was available; there was no nam prik as we have today. This observation is not from personal experience but from ancient records. When kanom jeen was mentioned, it was always paired with nam ya, and nothing else.

Kanom jeen nam ya is a good source of dietary fiber (due to the ample amount of accompanying vegetables), but it is relatively high in saturated fat because coconut milk is a main ingredient. Therefore, it is not suitable for those with high blood pressure, heart disease, or high cholesterol. Those at risk of these conditions should avoid it.

It is recommended to opt for nam ya pa (a version without coconut milk) instead, as it eliminates concerns about coconut milk. To gain the full benefits of eating kanom jeen, whether with nam ya or other variations, one should consume plenty of accompanying vegetables. Adding fish balls is also acceptable for those who prefer them.