พะโล้ เป็นการปรุงอาหารจีนที่แพร่หลายทั่วทั้งประเทศจีน และได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการอาหารของประเทศไทยด้วย คำว่า "พะโล้" ในภาษาไทยเป็นคำยืมจากภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งใช้คำว่า "ผะโล่ว" (拍滷) ซึ่งหมายถึงขั้นตอนหนึ่งในการทำเนื้อพะโล้
.
พะโล้ในประเทศจีนมีความหลากหลายแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ พะโล้ภาคเหนือและพะโล้ภาคใต้ โดยพะโล้ภาคใต้เองยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็น พะโล้เสฉวน, พะโล้กวางตุ้ง, พะโล้แต้จิ๋ว และพะโล้แคะ ในกลุ่มนี้ พะโล้เสฉวนถือเป็นที่รู้จักดีที่สุด โดยเฉพาะพะโล้ซี่โครงหมู ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูง พะโล้ในแต่ละภูมิภาคมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น พะโล้ในเมืองซูโจวที่มีรสหวานเป็นหลัก, พะโล้ของมณฑลซานตงที่มีสีแดงและรสเค็ม, พะโล้เสฉวนที่มีกลิ่นหอมและรสเผ็ด และพะโล้แต้จิ๋วที่มีสีแดงและมีกลิ่นหอม
.
ในประเทศไทย พะโล้ถูกปรับให้เหมาะกับการทำอาหารที่สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น โดยใส่เครื่องเทศจีนเพียงไม่กี่ชนิด เช่น โป๊ยกั๊กและอบเชย ซึ่งเป็นเครื่องเทศหลักในการปรุง พะโล้แบบแต้จิ๋วที่นิยมทำกันในไทยมักใช้ห่านหรือเป็ด โดยมักรับประทานกับน้ำจิ้มที่ทำจากต้นกระเทียมสับกับน้ำส้มสายชู และน้ำพะโล้ที่เหลือจากการต้มมักนำไปต้มขาหมู เครื่องใน เลือด และเต้าหู้เป็นขั้นตอนสุดท้าย
.
ในหนังสือ "เมนูอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับทุกวัยในช่วง Covid-19" ที่จัดทำโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แม้จะไม่ใช่สูตรอาหารสำหรับผู้ที่ต้องกักตัว แต่ตำราอาหารนี้ยังให้ความรู้ในการเลือกจัดหาอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มวัยและโรคประจำตัว ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและป้องกันโรคติดเชื้อ
.
หนึ่งในอาหารเพื่อสุขภาพที่กรมอนามัยแนะนำคือ "ไข่พะโล้" ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอาหารที่ธรรมดา แต่ตามสูตรของกรมอนามัยนั้นจะใช้แค่โป๊ยกั๊กและอบเชยเท่านั้น พร้อมกับซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วขาว และซอสปรุงรส เพื่อให้น้ำพะโล้มีสีดำ ซึ่งทำให้คุณค่าจากสมุนไพรมีไม่ครบถ้วน หากมีการใช้ผงพะโล้สำเร็จรูปที่ดี จะทำให้พะโล้มีคุณค่ามากกว่าน้ำซีอิ๊วเพียงอย่างเดียว
------------------------------------------------------
Palo is a Chinese culinary art widely practiced throughout China and has also become significant in Thai cuisine. The term "Palo" in Thai is borrowed from the Hokkien Chinese phrase "Pháiluò" (拍滷), which refers to a specific step in the preparation of Palo.
.
In China, Palo comes in various forms, categorized into two major groups: Northern and Southern styles. The Southern style can further be divided into Sichuan, Cantonese, Teochew, and Hakka varieties. Among these, Sichuan Palo is the most renowned, particularly for its pork rib Palo. Each regional variation of Palo has its distinct characteristics: Suzhou Palo is predominantly sweet, Shandong Palo is reddish and salty, Sichuan Palo is aromatic and spicy, and Teochew Palo is red with a fragrant aroma.
.
In Thailand, Palo has been adapted for convenience and simplicity, using only a few key Chinese spices such as star anise and cinnamon. The Teochew style, popular in Thailand, often features goose or duck, typically served with a dipping sauce made from chopped garlic and vinegar. The leftover Palo broth from cooking the goose or duck is often used to cook pork knuckles, offal, blood, and tofu in the final stage.
.
The book "Healthy Menus for All Ages During Covid-19," published by the Nutrition Division of the Department of Health, Ministry of Public Health, provides guidance on selecting appropriate foods for different age groups and chronic conditions to boost immunity and prevent infections. Although not specifically designed for quarantine situations, the book offers valuable insights into maintaining health.
.
One of the recommended healthy dishes is "Braised Eggs," which, despite its simplicity, follows a recipe using only star anise and cinnamon, along with dark soy sauce, light soy sauce, and seasoning to achieve a dark color. This approach limits the herbal benefits. Using high-quality premade Palo spice mix would enhance the nutritional value beyond just soy sauce.